ด้านบริการ
ภาควิชารังสีวิทยา
Department of Radiology
ข้อมูลด้านบริการ
- ด้านการศึกษา : ภาควิชารังสีวิทยา มีภารกิจหลักด้านการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ๔ ประการคือ
- ผลิตและพัฒนาบัณฑิตแพทย์ให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกับความต้องการของมหาวิทยาลัย สังคมและประเทศชาติ จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตคือรายวิชา BMRD 402 และรายวิชาเลือกเสรี BMRD 611 : การฝึกปฏิบัติด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและรังสีวิทยาทั่วไป
- ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนางานวิจัยที่มีมาตรฐานและมีประโยชน์ต่อสังคม
- ให้การบริการทางวิชาการในคณะแพทยศาสตร์วิชรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่อยู่ในสังกัดกรุงเทพมหานคร
- ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามนโยบายของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- ด้านการบริการทางวิชาการ : ภาควิชารังสีวิทยา ให้บริการทางวิชาการออกเป็น 3 สาขาวิชา ประกอบด้วยสาขารังสีวินิจฉัย สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา และสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
- สาขารังสีวินิจฉัย :
- ความมุ่งหมาย : ให้บริการตรวจวินิจฉัยทางรังสีที่มีคุณภาพ รวดเร็ว ได้มาตรฐาน ให้บริการที่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย
- ขอบเขตการบริการ : สาขารังสีวินิจฉัย ให้บริการตรวจวินิจฉัยทางรังสี ทั้งในและนอกเวลาราชการกรณีฉุกเฉินมีการให้บริการเอกซเรย์ทั่วไป เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเอกซเรย์เคลื่อนที่ตลอด 24 ชั่วโมง งานที่ให้บริการ ได้แก่ เอกซเรย์ทั่วไป, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT), การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)} การตรวจแมมโมแกรม (Mammography), การเจาะชิ้นเนื้อเต้านม (Ultrasound guided and Stereotactic guided biopsy), รังสีร่วมรักษาระบบหลอดเลือด (Intervention radiology) ได้แก่การทำ TACE, PTBD, CT guide biopsy และ Diagnostic angiography
- ขอบเขตทางวิชาการ : ให้ความรู้กับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ตามวิชาบังคับของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต, นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 (Elective program), แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์และ แพทย์ประจำบ้านภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน, เข้าร่วมประชุมวิชาการกับภาควิชาอื่น ๆ อาทิ Surgical-radiology-pathology ทุกเดือน, Clinical pathological conference และเข้าร่วมประชุมกับภาควิชาอื่นๆ ตามวาระ
- สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา :
- ขอบเขตการบริการ : สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งแบบองค์รวมด้วยรังสีรักษาและเคมีบำบัด มีผลการรักษา และความปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพ และมุ่งเน้นพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ผู้รับบริการพึงพอใจ ให้บริการรับปรึกษา รักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งด้วยรังสีรักษาและยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยจากสถานพยาบาลในเครือข่ายสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยจากสถานพยาบาลของเครือข่ายประกันคุณภาพ/ประกันสังคม และผู้ป่วยโรคมะเร็งจากโรงพยาบาลสงฆ์ โดยแบ่งงานให้บริการออกเป็นงานต่าง ๆ ดังนี้
- ห้องตรวจรังสีรักษา ให้บริการทุกวันราชการ เพื่อตรวจติดตามและให้สุขศึกษาทั้งผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาและผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาครบแล้ว ทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการฉายรังสี โดยได้ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยที่ได้รับไว้ในโรงพยาบาล
- คลินิกปรึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง(Tumor Clinic) เพื่อรับปรึกษาและวางแผนการรักษาร่วมกันในผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ที่ส่งมาจากภาควิชาต่าง ๆ ทั้งในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล สถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายบริการ เช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ เป็นต้น โดยมีการประชุมร่วมกันระหว่างแพทย์สหสาขาวิชาชีพ เวลา 13.00 – 15.00 น.
วันจันทร์ : ผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป
วันอังคาร : ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช
วันพุธ : ผู้ป่วยมะเร็งหู คอ จมูก และมะเร็งทั่วไป
วันพฤหัสบดี : ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
ผู้ป่วยมะเร็งฉุกเฉิน หรือ ปรึกษาด่วน สามารถปรึกษาได้ทุกวันราชการ ประกอบด้วยโรค
- ภาวะก้อนมะเร็งแพร่กระจายไปสมอง (Brain Metastasis)
- ภาวะก้อนมะเร็งแพร่กระจายกดทับไขสันหลัง (Spinal Cord Compression)
- ภาวะก้อนมะเร็งกดทับเส้นเลือดดำ SVC (SVC obstruction)
- ภาวะเลือดออกมากจากก้อนมะเร็ง (Bleeding from tumor ulcer)
- บริการฉายรังสี ให้บริการฉายรังสีทุกวันราชการ ตั้งแต่เวลา 8.00–16.00 น. (มีบริการฉายรังสีนอกเวลาราชการ เวลา 16.00-18.00 น. ทุกวันราชการ) โดยมีสถานที่ที่ให้บริการ คือ
- อาคารมหาวชิราวุธ มีเครื่องที่ให้บริการ คือ ฉายรังสีโคบอลท์-60 (Co-60)
- อาคารรังสีรักษา (LINAC) มีเครื่องที่ให้บริการ คือ เครื่องฉายรังสี Linear Accelerator, เครื่องเอกซเรย์ Digital Simulator, เครื่องเอกซเรย์ CT Simulator, เครื่องวางแผนการรักษา(Computer Treatment Planning)
การฉายรังสี, การกำหนดขนาด ทิศทาง รูปร่าง ของลำรังสี, Computer Treatment Planning เพื่อให้สามารถฉายรังสีได้ตามแผนที่วางไว้สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อน ที่จะทำการฉายรังสี โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉายรังสีประมาณ 5-7 สัปดาห์ ยกเว้นการรักษาภาวะฉุกเฉินทาง รังสีรักษาจะใช้เวลาสั้นกว่า คือ 1-2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังรวมถึงงานประกันคุณภาพเพื่อควบคุมความปลอดภัยของรังสี โดยจะมีการตรวจวัดปริมาณรังสี จัดทำมาตรฐานป้องกันการรั่วของรังสีอย่างต่อเนื่อง
- ห้องใส่แร่(High Dose Rate Brachytherapy) อยู่ที่ตึกมหาวชิราวุธ ชั้น 3 ให้บริการทุกวันราชการ(เป็นผู้ป่วยนัดเท่านั้น) โดยใช้สารกัมมันตรังสี High Dose Rate Brachytherapy (Cobalt-60) ในการรักษาทั้งการใส่แร่(Intracavitary therapy) และ การฝังแร่(Interstitial Implant)
- ขอบเขตการบริการ : สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งแบบองค์รวมด้วยรังสีรักษาและเคมีบำบัด มีผลการรักษา และความปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพ และมุ่งเน้นพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ผู้รับบริการพึงพอใจ ให้บริการรับปรึกษา รักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งด้วยรังสีรักษาและยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยจากสถานพยาบาลในเครือข่ายสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร ผู้ป่วยจากสถานพยาบาลของเครือข่ายประกันคุณภาพ/ประกันสังคม และผู้ป่วยโรคมะเร็งจากโรงพยาบาลสงฆ์ โดยแบ่งงานให้บริการออกเป็นงานต่าง ๆ ดังนี้
- สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ :
- ความมุ่งหมาย : บริการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ให้ได้มาตรฐานสากล มุ่งเน้นความปลอดภัย วินิจฉัยถูกต้อง มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และป้องสิทธิผู้รับบริการโดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- ขอบเขตการบริการ : สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ให้บริการวินิจฉัยโรคระบบต่าง ๆ ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกและรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษโดยวิธีการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ทั้งในโรงพยาบาลรวมถึงโรงพยาบาล และศูนย์บริการสาธารณสุขในเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 ตึกพยาธิวิทยาคลินิก เปิดให้บริการในวันและเวลาราชการแก่ผู้ป่วยทั่วไปเฉพาะในรายที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ส่วนคลินิกรังสีไอโอดีนเพื่อการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. วันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 8.00- 12.00 น.
- สาขารังสีวินิจฉัย :